บรรจุภัณฑ์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสินค้า กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า ทั้งยังช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย บรรจุภัณฑ์ที่มีรายละเอียดครบถ้วนนั้นยังทำหน้าที่แทนพนักงานขายได้ดีอีกด้วย นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายและยืดอายุการใช้งานของสินค้านั้นๆ
ขั้นตอนและวิธีออกแบบกล่อง
1. เลือกแบบรูปแบบของกล่อง ให้เราเลือกดูรูปแบบของกล่องที่เราต้องการที่จะนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบกล่อง ซึ่งสำหรับผู้เริ่มต้นนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือการหากล่องจริงมาดู ซึ่งรูปแบบของกล่องพื้นฐานหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
0.1 Straight Tuck End (STE) คือกล่องที่มีฝาเปิดและปิดที่ก้นอยู่ด้านเดียวกัน ตามรูป
0.2 Revers Tuck End คือกล่องที่มีฝาเปิดและที่ก้นอยู่คนละด้านกัน จะทำให้กล่องมีความแข็งแรงมากกว่าแบบแรก
0.3 Lock bottom end คือกล่องที่มีด้านฝาเปิดและก้นไม่เหมือนกัน ด้านก้นจะออกแบบให้มีลักษณะขัดกันเพิ่มความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
ฝึกการคลี่แปลนกล่อง
วิธีการเรียนรู้ในเรื่องการออกแบบกล่องที่ดีที่สุดก็คือ การคลี่กล่องนั้นออกมาดู เมื่อเราได้แบบกล่องตัวอย่างมาแล้วให้ลองฝึกคลี่แบบดู เพื่อทำความเข้าใจแบบแปลน ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพโครงสร้างของกล่องบรรจุภัณฑ์ที่เรากำลังจะทำ และแนวทางในการออกแบบตกแต่ง เช่น การวางรูปภาพประกอบ โลโก้ ข้อความ ดูว่าเขาจัดวางกันอย่างไร
2.สร้างแปลนสำหรับไดคัทกล่อง(Sketch)
2.1 การวัดขนาดตัวสินค้าในการออกแบบกล่อง ก่อนอื่นเราต้องทำการวัดตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์สินค้าเราก่อนว่ามีขนาดเท่าใด ขนาดที่เราจะต้องวัดคือ ความกว้าง ความยาว และความสูง แล้วนำค่าที่ได้ไปใช้ในการออกแบบกล่อง ซึ่งเราจะต้องเผื่อระยะของแปลนออกไปอีกด้านละประมาณ 2-5 เซนติเมตร เช่นในที่นี้ถ้าวัดขนาดของสินค้าได้ สูง 3.8cm กว้าง 2.5cm ยาว 6.4cm ดังนั้นจะต้องเผื่อขนาดสำหรับกล่องด้วย จะได้กล่องที่ขนาดความ สูง 4.3cm กว้าง 2.7cm ยาว 6.8cm ทั้งนี้จะต้องคำนึ่งถึงกระดาษที่เราจะนำมาใช้ด้วย ว่าหากพับแล้วจะกินพื้นที่เข้าไปด้านในอีกเท่าใดด้วย
2.1 วาดแปลนลงบนกระดาษและระบุสเปคของแบบ เมื่อเราได้ขนาดของกล่องมาแล้ว ก็มาทำการวาดแปลนของกล่องลงบนกระดาษ โดยให้เริ่มวาดจากด้านใดด้านหนึ่งก่อนแล้วค่อยขยายต่อไปด้านอื่นๆจนครบ ในขั้นตอนนี้เราอาจจะวาดพอเป็นแนว ระบุขนาดพอเป็นไกด์ให้เห็นภาพสำหรับนำไปออกแบบอีกครั้งด้วยโปรแกรม Illustrator ก็ได้
3.สร้างแปลนสำหรับไดคัทด้วยโปรแกรม illustrator 3.1 เปิดโปรแกรม illustrator ขึ้นมา แล้วสร้างพื้นที่การทำงานใหม่ File > New.. แล้วตั้งค่าตามขนาดที่ต้องการ ส่วนที่สำคัญ คือ a ขนาดความกว้างxความยาว, b หน่วยเป็นเซนติเมตร, c โหมดสี และความละเอียด
3.2 สร้างชิ้นส่วนแต่ละส่วน โดยในขั้นตอนนี้ให้เราสร้างเส้นรูปสี่เหลื่ยมขึ้นมาก่อน ตามขนาดที่เราวาดไว้จนครบ มีวิธีและขั้นตอนดังนี้
a. คลิกเลือกเครื่องมือ Rectangle Tool
b. ลงลงบนพื้นที่ว่างแล้วจะมีหน้าต่าง Rectangle ขึ้นมา ให้เราใส่ค่าของชิ้นส่วนของแต่ละส่วนลงไป > แล้วคลิกที่ OK ทำซ้ำตามขั้นตอน a.และ b จนครบทุกชิ้นส่วน
c. แล้วทำการจัดวางลงตำแหน่ง โดยให้เราเรียกใช้คำสั่งให้มีการจัดเรียงแบบ Smart Guide คีย์ลัด Ctrl+U จากนั้นให้เลือกเครื่องมือ Selection Tool (คีย์ลัด V) คลิกลากชิ้นส่วนประกบกัน
(สำหรับผู้ที่ต้องการทำกล่องเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบกราฟิกเพิ่มก็สามารถจะพิมพ์ออกไปเป็นแบบแปลนสำหรับตัดทำกล่องได้เลย หรือเพื่อเพิ่มความสวยงามก็อาจจะออกแบบสติ็กเกอร์หรือฉลากติดเข้าไปก็ได้)
4.ใส่ภาพประกอบ ใส่โลโก้ ข้อความ ตกแต่ง (สำหรับเรื่องการออกแบบ ให้ดูที่เรื่อง สามคำที่นักออกแบบงานพิมพ์จะต้องรู้)
-ใส่ภาพ และโลโก้
-ข้อความ
5. เตรียมไฟล์และ Mock-Up ส่งโรงพิมพ์
-การบันทึกไฟล์
-สเปกของกล่อง
6.การเลือกกระดาษสำหรับงานบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากกล่องมีลักษณะที่หลากหลายมากตามลักษณะการใช้งาน ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะกล่องบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กและกลางเท่านั้น กระดาษที่เหมาสมสำหรับการทำกล่องบรรจุภัณฑ์ ได้แก่
0.1 กระดาษาร์ตการ์ดหน้าเดียว เหมาะสำหรับกล่องบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีการพิมพ์สอดสีหรือสีพิเศษ หรือมีการเคลือบด้วยด้วย เช่น พิมพ์ 4สี หรือมากกว่า พร้อมเคลือบ OPPด้าน กล่องที่เหมาะสำหรับกระดาษขนิดนี้ ได้แก่ กล่องเครื่องสำอางค์ เวชภัณฑ์ สบู่ อาหารเสริม อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วย คือความหนาของกระดาษ ถ้าเป็นสินค้าที่มีน้ำหนัก หรือมีขนาดใหญ่ ก็จะต้องใช้กระดาษที่มีความหนามากขึ้น ซึ่งความหนาของกระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว จะมีความหนาตั้งแต่ 200, 210, 250, 300, 350, 400, 500 แกรม
0.2 กระดาษ Duplex board หรือบางที่ก็เรียกว่ากระดาษกล่องหน้าแป้ง เป็นกระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียวที่ใช้สำหรับกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา สามารถพิมพ์งาน 4 สีพร้อมเคลือบให้สวยงามได้ กล่องที่เหมาะสำหรับกระดาษชนิดนี้ได้แก่ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า Gadget ยาสีฟัน กระดาษชนิดนี้ มีความหนา ตั้งแต่ 300, 350, 400,450, 500, 600 แกรม
0.3 กระดาษเทาขาว เป็นกระดาษที่มีด้านหน้าเป็นกระดาษปอนด์ขาว ไม่เหมาะที่จะพิมพ์งาน 4 สี และเคลือบไม่ได้ จึงเหมาะสำหรับทำกล่องบรรจุภัณฑ์ราคาถูก เช่น แก้ว ขวด รองเท้า