การวัดความหนาของกระดาษ จะมีหน่วยวัดเป็น แกรม ที่มาจากคำว่า gram per square meter (gsm.) คือ น้ำหนักของกระดาษชนิดนั้น ๆ ที่มีพื้นที่ 1 ตารางเมตร เช่น กระดาษปอนด์ 80 แกรม คือ กระดาษปอนด์ ที่มีขนาด 1 ตารางเมตร เมื่อนำไปชั่ง จะได้น้ำหนัก 80 กรัม
เครื่องชั่งแกรมกระดาษ
กระดาษที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือ
1. กระดาษปรู๊ฟ (newsprint, proof) คือกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์รายวัน ผลิตจากเยื่อที่ไม่มีการฟอกขาว หรือมีส่วนผสมจากกระดาษ recycle ผสมอยู่ด้วย สีจึงไม่ขาว เป็กระดาษราคาถูกที่สุด มีความหนามาตรฐานอยู่ที่ 50 หรือ 48.8 แกรม
2. กระดาษปอนด์ (woodfree, uncoated paper, bond) หรือภาษาราชการบางทีเรียกว่า กระดาษพิมพ์เขียน เป็นกระดาษที่มีใช้มากที่สุด ผลิตจากเยื่อที่มีการฟอกขาว จึงมีสีขาว พื้นผิวมีความละเอียดปานกลาง กระดาษปอนด์ มีความหนาที่ 55, 60, 70, 80 ,100 แกรม
กระดาษปอนด์, Woodfree หรือ Uncoated
นอกจากนี้ ยังมีกระดาษอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกระกระดาษปอนด์ ได้แก่
2.1 กระดาษปอนด์ถนอมสายตา (green read) มีความหนาอยู่ที่ 75, 80 แกรม ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการพิมพ์ตำรา พอคเก็ตบุ๊ค เป็นกระดาษที่มีการสะท้อแสงน้อย ทำให้ถนอมสายตา และยังมีความเบากว่าปกติ (bulky)
2.2 กระดาษกรีน ออฟเซ็ต
3. กระดาษอาร์ต (coated paper, art paper) คือกระดาษปอนด์ที่นำไปเคลือบผิวด้วยดินสอพอง ทำให้ผิวหน้าเกิดความเนียนเรียบมากขึ้น เมื่อนำไปพิมพ์ ก็ทำให้งานมีสีที่สดใสขึ้น กระดาษอาร์ต มีทั้งแบบ หน้าเดียว (one side coated paper) และสองหน้า (double side coated paper) กระดาษอาร์ต ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะของผิวหน้า คือ
3.1 กระดาษอาร์ตมัน (glossy art paper, glossy coated paper) คือกระดาษอาร์ตที่มีผิวหน้ามัน
3.2 กระดาษอาร์ตด้าน (matt art paper, matt coated paper) คือกระดาษอาร์ตที่มีผิวหน้าด้าน กระดาษอาร์ต มีความหนาที่ 85, 100, 105, 120, 140, 160 แกรม
4. กระดาษอาร์ตการ์ด (art card paper) คือกระดาษที่มีผิวหน้าเรียบเป็นกระดาษอาร์ต แต่มีการเสริมความหนา ความแกร่งเข้าไปตรงกลาง เพื่อให้มีความหนา ความแกร่งมากขึ้น และมีทั้งแบบหน้าเดียว และสองหน้า กระดาษการ์ด มีความหนาที่ 190, 210, 260, 300, 350 400, 450 และ 500 แกรม
5. กระดาษการ์ด (card paper) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 5.1 กระดาษการ์ดขาว ลักษณะคล้ายกระดาษปอนด์ แต่มีความหนา และความแกร่งมากกว่า มีความหนา ตั้งแต่ 150, 180, 200, 250, 300 แกรม 5.2 กระดาษการ์ดสี คือกระดาษการ์ดที่เจือสีเข้าไปด้วย เช่น การ์ดเขียว, ชมพู, ฟ้า, เหลือง กระดาษการ์ด มีความหนาอยู่ที่ 120, 150, 180, 210, 240, 280, 300 และ 350 แกรม
6. กระดาษแบงค์ (bank paper) ลักษณะคล้ายกระดาษปอนด์ แต่มีสี อ่อน ได้แก่ สี เขียว, ชมพู, ฟ้า, เหลือง มีความหนาอยู่ที่ 55 แกรม ส่วนมากใช้ในการพิมพ์เอกสารสำนักงาน
7. กระดาษแอร์เมล์ (air mail paper) คือกระดาษที่มีความบางเป็นพิเศษ อยู่ที่ 28 แกรม มีทั้งแบบผิวเรียบ และผิวย่น (onion skin) และยังมีกระดาษที่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน เช่น กระดาษเช็ดปาก กระดาษแก้วขาวขุ่น
8. กระดาษกล่องแป้ง (carton paper) เป็นกระดาษที่มีความหนา และแข็ง มีหน้าเดียว ไส้ในเป็นสีเทา หรือน้ำตาล ใช้ในการพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ มีความหนาที่ 270, 310, 350, และ 400 แกรม ยังมีกระดาษอีกชนิดหนึ่งที่ลักษณะคล้ายกัน แต่ราคาถูกว่า และคุณภาพด้อยกว่า คือกระดาษเทาขาว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กระดาษหน้าขาวหลังเทา เป็นกระดาษที่ใช้กระดาษปอนด์ขาวปะลงไปบนกระดาษแข็ง
9. กระดาษน้ำตาล (brown paper) เป็นกระดาษสีน้ำตาลอ่อน ส่วนมากผลิตจากกระดาษ recycle ใช้สำหรับห่อของ, ปกบิลใบเสร็จ หรืองานพิมพ์ที่ต้องการความแตกต่างเป็นพิเศษ มีความหนาที่ 90,110, 125, 185, 230, 350, 400 แกรม
10. กระดาษคาร์บอนเลส( carbonless paper) เป็นกระดาษชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นมาทดแทนกระดาษคาร์บอน โดยการเคลือบสารเคมีที่ไม่มีสีลงไป แต่เมื่อสารเคมีที่เคลือบอยู่ทั้งสองด้านประกบกันมีแรงกด หรือขูดขีด จะทำให้เกิดภาพสีน้ำเงินตามรอยขูดขีดเกิดขึ้นที่ใบล่าง กระดาษคาร์บอนเลส จึงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 10.1 คาร์บอนเลสบน (carbonless top)มีเคมีเคลือบอยู่ด้านล่าง ใช้สำหรับเป็นใบบน 10.2 คาร์บอนเลสกลาง (carbonless top & bottom or middle)มีเคมีอยู่เคลือบทั้งด้านบน และด้านล่าง ใช้สำหรับเป็นใบกลาง 10.3 คาร์บอนเลสล่าง (carbonless bottom)มีสารเคมีเคลือบอยู่ด้านบน ใช้สำหรับเป็นใบล่าง กระดาษคาร์บอนเลส (หรือบางทีเรียกว่า กระดาษเคมี) มีความหนาอยู่ที่ 56 แกรม ส่วนใบล่าง จะมีความหนา 56 และ 105 แกรมหรือมากกว่าด้วย และมีสีต่าง ๆ เช่น ขาว ฟ้า เขียว เหลือง และ ชมพู (สิ่งที่จะต้องระวังในการใช้กระดาษชนิดนี้ คือ ถ้าหากใช้สลับตำแหน่งกันแล้ว(ยกเว้นคาร์บอนเลสกลาง) หรือสลับด้าน จะไม่มีสีเกิดขึ้น เพราะว่าเคมีทั้งสองหน้าไม่สัมผัสกัน)
11. กระดาษสติ๊กเกอร์ (sticker) มีทั้งที่เป็นเนื้อพลาสติคขาว สี และมีทั้งเนื้อที่เป็นพลาสติคใส และกระดาษ ที่เป็นกระดาษ ก็มีทั้งกระดาษอาร์ตมัน อาร์ตด้าน สีขาวหรือสีต่าง ๆ
12. กระดาษไข (tracing paper) คือกระดาษที่ใช้ในการเขียนแบบ มีลักษณะโปรงแสง (translucent) แต่ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในการพิมพ์ด้วย มีความหนาที่ 85, 100, 115, 180 และ 200 แกรม
13. กระดาษแฟนซี (fancy paper) คือกระดาษที่มีลักษณะพิเศษต่างๆอยู่ในตัว เช่น มีกลิ่น มีพื้นผิว (texture) หยาบ มีลายในตัว ซึ่งกระดาษชนิดนี้ มีหลากหลาย และราคาแพงกว่าปกติ หรืออาจจะเป็นกระดาษผิวเรียบปกติ แต่อาจจะมีความละเอียด ความแกร่งเป็นพิเศษ ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้ คือ 13.1 กระดาษผิวเรียบ แต่อาจจะมีความแกร่ง สี หรือความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษ 13.2 กระดาษผิวลาย เช่นผิวลายขรุขระ(texture) หรือลายริ้ว (laid paper) หรือมีลายเยื่อภายในเนื้อกระดาษ ใช้ในการพิมพ์เอกสารกันการปลอมแปลง (security printing) เช่น โฉนดที่ดิน, เช็ค, ตราสารหนี้ 13.3 กระดาษลายน้ำ (water mark) เมื่อส่องไฟดู จะเห็นเป็นลายน้ำในเนื้อกระดาษ เช่น ธนบัตร กระดาษชนิดนี้จะมีราคาค่อนข้างแพง และมีใช้กับลูกค้าเฉาะกลุ่ม เพราะลูกค้าแต่ละราย ก็ล้วนแล้วแต่ต้องการความแตกต่าง และมีความเฉพาะตัว มีคุณค่า ดังนั้นจะต้องเรียนรู้จักชนิด และคุณสมบัติของกระดาษชนิดนั้น ๆ เป็นอย่าง ๆไป กระดาษในกลุ่มนี้ ได้แก่ กระดาษคองเกอร์เร่อร์ กระดาษ Marshmallow, Stardream, ACQ, Dreamkent, Gardapat, Curious metallic, marina ฯ
ตัวอย่างกระดาษแฟนซี และอื่น ๆ
ขนาดกระดาษมาตฐานที่ใช้ในการพิมพ์ในประเทศไทย
ขนาดกระดาษมาตรฐานตาม Series A
ขนาดกระดาษมาตรฐาน ของแต่ละ Series